Fundamental analysis vs Technical Analysis
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน vs การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค
2 กลยุทธ์เทรดพื้นฐานที่นักเทรดต้องรู้ ที่ใช้ในการวิเคราะห์แนวโน้มของการซื้อขายไม่ว่าจะในระยะสั้น หรือระยะยาว และมีการใช้แพร่หลายกันในตลาด Forex และสินทรัพย์ CFD อื่นๆ การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานจะเน้นการวิเคราะห์เศรษฐกิจ เหตุการณ์บ้านเมืองต่าง ๆ ที่เป็นสาเหตุที่ขับเคลื่อนค่าสกุลเงิน ในขณะที่การวิเคราะห์ทางเทคนิคจะวิเคราะห์ผลลัพธ์ในอดีต โดยดูจากกราฟที่มีเคลื่อนไหวของราคา ปริมาณ (volume) ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (moving averages) และสถิติอื่น ๆ เพื่อทำการวิเคราะห์
สำหรับเนื้อหาในบทความนี้ STARTRADER จะกล่าวถึงความแตกต่าง จุดเด่น จุดด้อย และปัจจัยที่ใช้วิเคราะห์ของ 2 เทคนิคนี้ ให้เทรดเดอร์ได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพ
การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานใช้เพื่อประเมินการซื้อขาย เช่น หุ้น ดัชนี สกุลเงิน และสินค้าโภคภัณฑ์ เทรดเดอร์สามารถประเมินได้ด้วยปัจจัยทางเศรษฐกิจ เช่น ภาวะการเมือง GDP ของประเทศ ระดับการว่างงาน ภาวะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และผลการดำเนินงาน และฐานะทางเงินของบริษัทผู้ออกหุ้น ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อหรือขาย การวิเคราะห์สายนี้จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “นักเทรดสายข่าว”
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็ยสิ่งสำคัญต่อการเทรด Forex ช่วยให้เทรดเดอร์วิเคราะห์มูลค่าของการซื้อขายได้แม่นยำ โดยการใช้ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมเป็นตัวประเมิน ตัวบ่งชี้สำคัญหลัก ๆ ที่เทรดเดอร์ Forex นิยมใช้ได้แก่ การเติบโตของ GDP อัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลการจ้างงาน และอัตราดอกเบี้ย เนื่องจากเป็นตัวชี้สภาวะทางเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างเช่น อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นสามารถดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศมากขึ้น ส่งผลให้มูลค่าของสกุลเงินสูงขึ้น ในทางกลับกัน อัตราดอกเบี้ยที่ลดลดงอาจส่งผลให้มูลค่าสกุลเงินลดลง ประเทศที่มีรัฐบาลและเศรษฐกิจที่ดีส่งผลต่อมูลค่าของสกุลเงินเช่นกัน ด้วยปัจจัยเหล่านี้จึงสำคัญต่อเทรดเดอร์ Forex อย่างยิ่งที่จะศึกษาเพื่อการเทรดที่ดีมากขึ้น
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานเป็นการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของสินทรัพย์ที่อาจจะมีการเติบโตในอนาคต เหมาะกับการลงทุนในระยะยาว ด้วยข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ช่วยให้เทรดเดอร์มีความเข้าใจและเห็นภาพรวมของสินทรัพย์ที่จะลงทุนกว้างมากขึ้น
1. ตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจ เช่น การเติบโตของ GDP อัตราเงินเฟ้อ ข้อมูลการจ้างงาน ดุลการค้า และความเชื่อมั่นของผู้บริโภค ตัวเลขเหล่านี้จะเป็นตัววัดสุขภาพของเศรษฐกิจของประเทศนั้นๆ ที่ส่งผลต่อค่าสกุลเงินอีกด้วย
2. นโยบายของธนาคารกลาง และอัตราดอกเบี้ย
นโยบายการเงินและการตัดสินใจเกี่ยวกับอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางส่งผลโดยตรงต่อค่าสกุลเงิน อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นทำให้สกุลเงินแข็งค่า ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลงอาจทำให้สกุลเงินมีมูลค่าลดลง
3. นโยบายเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางการเมือง
สองอย่างนี้สื่อถึงคุณภาพของประเทศเป็นอย่างมาก ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อค่าเงิน ความตึงเครียดทางการเมืองสื่อถึงความไม่แน่นอนภายในประเทศ ทำให้เกิดความผันผวนในตลาดฟอเร็กซ์
4. ดุลการค้าของประเทศ
การเกินดุลการค้าบ่งบอกถึงความต้องการที่แข็งแกร่งสำหรับสกุลเงิน ตรงข้ามกับการขาดดุลอาจทำให้สกุลเงินอ่อนค่าลงได้
5. ความเชื่อมั่นของตลาด ส่งผลต่อความผันผวนในระยะสั้นของค่าสกุลเงินได้ เช่นพวกข่าวต่าง ๆ โซเชียลมีเดียมีผลอย่างรวดเร็วต่อความเชื่อมั่นของเทรดเดอร์
6. การคาดการณ์ทางเศรษฐกิจ และแนวโน้มเศรษฐกิจโลก
เช่น ภาวะเศรษฐกิจถดถอย วิกฤตการณ์ทางการเงิน อาจส่งผลต่อค่าสกุลเงิน การคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ก็อาจจะส่งผลต่อการผันผวนในตลาดได้เช่นกัน
7. การเปลี่ยนแปลงของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและดุลการค้าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกสินค้าได้
8. เหตุการณ์ระดับโลก
เช่น ภัยพิบัติทางธรรมชาติ โรคระบาด สงครามระหว่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจโตช้าลงและส่งผลต่อสกุลเงิน
9. ปฏิทินเศรษฐกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเทรดเดอร์ในการอัปเดตเหตุการณ์สำคัญและประกาศกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น ถือเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือวางแผนการเทรดที่ดี
การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลพื้นฐาน เทรดเดอร์จะใช้ข้อมูลประกอบที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางเศรษฐกิจ ข้อมูลของการเงินธุรกิจนั้น ๆ เพื่อใช้วิเคราะห์แนวโน้มของตลาด ทำให้ได้รับข้อมูลที่กว้างขวาง
การวิเคราะห์ด้วยข้อมูลพื้นฐานต้องอาศัยข้อมูลอย่างละเอียดจากหลายๆ แหล่งข้อมูลเพื่อทำการวิเคราะห์การซื้อขาย ถือเป็นเรื่องที่ดี เนื่องจากเทรดเดอร์จะมองความเป็นไปได้ในการลงทุนได้ละเอียดมากขึ้น เพราะได้เห็นข้อมูลในเชิงลึกของธุรกิจนั้น ๆ
ด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก จะช่วยให้เทรดเดอร์พิจารณามูลค่าบริษัทได้ว่าจะลดลงหรือเติบโตในอนาคต
ข้อดีของการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานคือสามารถช่วยจัดการความเสี่ยงได้หลายวิธี เนื่องจากเทรดเดอร์ต้องศึกษาอัปเดตข้อมูลใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา ทำให้รับรู้ถึงความเสี่ยงที่จะลงทุนในแต่ละช่วงเวลา
การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานอย่างละเอียดอาจมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน เทรดเดอร์จะต้องศึกษาและเข้าถึงข้อมูลการตลาดที่น่าเชื่อถือ ทำให้มีการใช้เวลานานขึ้นในการวิเคราะห์
คุณภาพของการวิเคราะห์พื้นฐานขึ้นอยู่กับทักษะของเทรดเดอร์เช่นกัน หากนักลงทุนเข้าใจพื้นฐานการเทรดเป็นอย่างดี จะช่วยให้เทรดเดอร์วิเคราะห์ข้อมูลตลาดง่ายยิ่งขึ้น
มีข้อจํากัดของการใช้งาน การวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานนั้นสามารถวิเคราะห์ได้ในตลาดหุ้น ตลาด Forex และตลาดตราสารหนี้ แต่กับสินทรัพย์และหลักทรัพย์อื่น ๆ เช่น commodities และ cryptocurrencies บางตัว อาจจะไม่มีข้อมูลทางการเงินและปัจจัยทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องที่สามารถวิเคราะห์ได้
ไม่เหมาะสมสําหรับการลงทุนระยะสั้น การวิเคราะห์แบบนี้จะไม่สนใจความผันผวนระยะสั้นในตลาดหรือมูลค่าเฉพาะของสินทรัพย์ ซึ่งหมายความว่าไม่เหมาะสมกับนักลงทุนที่มีขอบเขตการลงทุนระยะสั้น
การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิคคือ การวิเคราะห์กราฟ เป็นอีกวิธีที่มีประสิทธิภาพในการวิเคราะห์และคาดการณ์ทิศทางราคาในอนาคต โดยใช้ข้อมูลในอดีต สามารถใช้ได้ทั้งตลาดหุ้น ทองคำ Forx คริปโทเคอร์เรนซี และอื่น ๆ อีกมากมาย
เครื่องมือที่นิยมใช้ในการวิเคราะห์ทางเทคนิค ได้แก่
1.กราฟแท่งเทียน (Candlestick Pattern) ใช้วิเคราะห์แนวโน้มและรูปแบบการเคลื่อนไหวของราคา พิจารณาที่บริเวณ “แนวรับ-แนวต้าน” เทรดเดอร์สามารถเห็น ราคาเปิด, ปิด, ราคาสูงสุด และต่ำสุดจากแท่งเทียน
2.กราฟราคา (Chart Pattern) ดูจากชุดของแท่งเทียนที่รวมกันในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ วิธีนี้ช่วยในการระบุทิศทางแนวโน้มของราคาที่เกิดขึ้นหรือเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงนั้น ๆ
3.เทคนิค Fibonacci Retracement ใช้เพื่อดูทิศทางของกราฟราคา หาราคาเป้าหมายและจุดที่ราคาพักตัว
4.ใช้อินดิเคเตอร์ (Indicator) เช่น Moving Average ปริมาณการซื้อขาย (Volume) หรือ เครื่องมืออย่าง RSI, Stochastic เป็นต้น
ปัจจัยหลักๆ ที่ใช้ในการวิเคราะห์กราฟทางเทคนิค คือ สภาพคล่องสูง, ราคาต้องไม่ถูกแทรกแซง และไม่มีข่าวที่ส่งผลกระทบรุนแรง
ความเข้าใจตลาดอย่างแท้จริง ก่อนลงมือใช้การวิเคราะห์ทางเทคนิค
ข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับราคา รวบรวมข้อมูลราคาในอดีตที่น่าเชื่อถือและแม่นยำเพื่อทำการวิเคราะห์ เช่น ข้อมูลพื้นฐาน เหตุการณ์ทางการเมือง ภาพรวมของเศรษฐกิจ เป็นต้น
เข้าใจกราฟและรูปแบบ เช่นเส้นแนวโน้ม ระดับแนวรับและแนวต้าน และอื่น ๆ ที่มีผลต่อการวิเคราะห์ราคา รวมไปถึงการใช้งาน Indicators ต่างๆ เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพ
ทำความเข้าใจกับกรอบเวลาที่แตกต่างกัน (รายวัน รายชั่วโมง นาที) จะให้ข้อมูลราคาที่ไม่เหมือนกัน เทรดเดอร์ที่ชอบเทรดแบบสั้นๆ อาจจะใช้กราฟระหว่างวัน เทรดเดอร์ที่เทรดระยะยาวอาจจะใช้กรอบเวลาที่สูงขึ้น
ใช้กราฟราคาในอดีตเพื่อดูความน่าจะเป็นของโอกาสที่จะเกิดขึ้นอีกครั้ง
มีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม เช่น การตั้งค่าระดับ stop-loss และ take-profit
การทดสอบย้อนหลัง เพื่อให้แน่ใจว่าการซื้อขายนี้มีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง
ฝึกฝนการใช้เครื่องมือต่าง ๆ และมีสติพร้อมยอมรับการเปลี่ยนแปลงของราคาแบบฉับพลัน
มีแผนการเทรดอยู่เสมอ
การวิเคราะห์กราฟเทคนิคมีจะช่วยให้เทรดเดอร์เห็นภาพรวมของตลาดรวดเร็วมากยิ่งขึ้น สามารถคาดเดาจุดซื้อขายโดยไม่เสี่ยงต่อการขาดทุน เพราะเทรดเดอร์สามารถใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงคู่กับการวิเคราะห์ทางเทคนิคได้ เทรดเดอร์เพียงแค่ต้องมีความเข้าใจในใช้เครื่องมือและเทคนิคให้มีความชำนาญ
ต้องอาศัยประสบการณ์และฝึกทักษะในการใช้เครื่องมือทางเทคนิคเพื่อวิเคราะห์การซื้อขาย
ด้วยความผันผวนสูง ควรนำเอาการวิเคราะห์ทางเทคนิคเข้ามาใช้ร่วมกับการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
การวิเคราะห์ปัจจัยทางเทคนิค – ใช้การวิเคราะห์กราฟราคาและรูปแบบราคา
การวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐาน – ศึกษาข้อมูลทางเศรษฐกิจและธุรกิจ
อย่างไรก็ตามในโลกแห่งการเทรด ที่มีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา การเลือกใช้เทคนิคใดเทคนิคหนึ่งก็ล้วนต้องอาศัยการศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วน ความสำเร็จขึ้นอยู่กับความเข้าใจและประสบการณ์ของเทรดเดอร์ การวิเคราะห์ทั้งสองเทคนิคสามารถใช้ร่วมกันได้ เพื่อการเทรดที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับนักเทรดมือใหม่ควรศึกษาทั้งสองวิธี เพื่อหาค้นหาความถนัดของตัวเอง หรือนำมาปรับใช้ด้วยกัน
*การซื้อขายและลงทุนใน Forex และ CFD มีความเสี่ยงสูง อาจทำให้สูญเสียมากกว่าเงินทุนทั้งหมด
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 24 ธันวาคม 2024 (วันอังคาร) 25 ธันวาคม 2024 (วันพุธ) 26 ธันวาคม 2024…
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 16 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) 23 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) วันหยุด วันแห่งการปรองดอง คริสต์มาสอีฟ…
Dear Valued Clients, The global gold market has experienced significant volatility recently, with market liquidity…
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ขอเรียนให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ซื้อขาย CFD ต่อไปนี้จะโรลโอเวอร์อัตโนมัติตามวันที่ระบุไว้ในตารางด้านล่างนี้ เนื่องจากอาจมีความแตกต่างของราคาระหว่างสัญญาเก่าและใหม่ จึงขอแนะนำให้ลูกค้าตรวจสอบและจัดการโพสิชันของคุณตามความเหมาะสม วันหมดอายุ: สัญลักษณ์ คำอธิบาย วันที่ JPN225ft Japan 225 Index Future…
ในการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ นักลงทุนควรใช้ตัวชี้วัดการเทรดที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินผลการลงทุนของตนเอง ตัวชี้วัดเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อขาย แต่ยังช่วยให้คุณวัดประสิทธิภาพและปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนของคุณได้อย่างต่อเนื่อง นี่คือตัวชี้วัดสำคัญที่นักลงทุนทุกคนควรรู้ 1. อัตราการชนะ (Win Rate) คือสัดส่วนของจำนวนการเทรดที่ประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการเทรดทั้งหมดที่ดำเนินการ โดยเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนหรือการเทรด อัตราการชนะบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากการเทรด และเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้คุณทราบว่าแนวทางการเทรดของคุณมีประสิทธิภาพเพียงใด วิธีการคำนวณ: ตัวอย่าง:…
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบตารางการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนพฤศจิกายนด้านล่างนี้ โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2024(วันพุธ) 28 พฤศจิกายน 2024(วันพฤหัส) 29 พฤศจิกายน 2024(วันศุกร์) 30 พฤศจิกายน…