หลังจากที่ธนาคารกลางญี่ปุ่น หรือ BOJ ได้บุกเบิกการใช้ QE ในปี 2001 เป็นเครื่องมือหลักสำหรับการกระตุ้นเศรษฐกิจ จนมาตร QE ได้รับการยอมรับในหลายประเทศ ทั้ง สหรัฐฯ, อังกฤษ หรือแม้แต่กลุ่มประเทศยุโรป อย่างไรก็ตาม เมื่อเร็ว ๆ นี้ นักลงทุนกำลังสนใจอีกหนึ่งคำศัพท์ที่ดูจะเป็นขั้วตรงข้ามของ QE นั่น คือ “Quantitative Tightening”
QT คืออะไร – ย่อมาจากอะไร?
QT ย่อมาจาก Quantitative Tightening คือ มาตรการตรงข้ามกับ QE หรือ Quantitative Easing ทั้งนี้ QE มาจากไอเดียของนักเศรษฐศาสตร์ที่ชื่อว่า “Milton Friedman” ซึ่งมองว่า ธนาคารกลางควรเข้ามามีบทบาทในการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระบวนการแทรกแซงอัตราดอกเบี้ยของตลาด “เงินฝาก-เงินกู้” ให้ต่ำลง
QE ใช้วิธีการ “ทุ่มซื้อ” พันธบัตรรัฐบาลของประเทศตัวเอง ซึ่งจะให้ทำดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายให้กับผู้ถือพันธบัตรลดต่ำลง แล้วสุดท้าย “ดอกเบี้ยพันธบัตร” จะไปกดดันดอกเบี้ยในกิจกรรมพาณิชย์ทั้งหมด ทั้งเงินฝากและเงินกู้ ซึ่งการที่ดอกเบี้ยอยู่ในระดับต่ำ จะกระตุ้นให้เกิดการใช้จ่าย การกู้เงินไปลงทุน และมีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจขยายตัว
แต่ Quantitative Tightening คือ สิ่งที่ทำตรงข้ามอย่างสิ้นเชิง❗️เปรียบเสมือน เราเคยป้อนน้ำตาลเพื่อให้ความหวานกับร่างกาย แต่การทำ QT คือการ “อดน้ำตาล” เพื่อปรับสมดุลเข้าสู่สภาวะปกติ
QT คือ “กระบวนการย้อนกลับ” หลังจากที่ธนาคารกลางทุ่มซื้อพันธบัตรรัฐบาลของประเทศตัวเองจนได้ผลลัพธ์ที่พอใจแล้ว QT คือการค่อย ๆ ลดปริมาณการซื้อพันธบัตรลง หรืออธิบายในเชิงวิชาการว่า “Quantitative Tightening เป็นกระบวนการลด Supply ของเงินในระบบผ่านกลไกพันธบัตร” นั่นเอง