แนวรับและแนวต้านเป็นหนึ่งในเทคนิคที่ใช้มากที่สุดในการวิเคราะห์ทางเทคนิค เป็นตัวช่วยให้เทรดเดอร์ระบุทิศทางของตลาดโดยการชี้ข้อมูลราคาแนวรับแนวต้าน และช่วยให้เทรดเดอร์ทราบว่าจุดไหนควรเข้าซื้อหรือจุดที่ไหนที่ควรขาย ในบทความนี้จะอธิบายว่าแนวรับและแนวต้านคืออะไร ความสำคัญรวมไปถึงกลยุทธ์การซื้อขายแนวรับและแนวต้าน
คือ แนวหรือกรอบราคาที่มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา เมื่อมีการวิ่งมาถึงจะเกิด Reaction ไม่ว่าจะเป็นแรงขาย หรือแรงซื้อ เทรดเดอร์มักจะใช้โซนราคานี้เพื่อแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขาย (Transaction) นอกจากนี้ยังใช้ในการวิเคราะห์กราฟอย่างรวดเร็วเพื่อกำหนดจุดที่น่าสนใจ ได้แก่ ทิศทางของตลาด เวลาเข้าสู่ตลาด หรือการสร้างจุดเพื่อออกจากตลาดทั้งกำไรและขาดทุน เทรดเดอร์สามารถระบุพื้นที่แนวรับและแนวต้านบนกราฟได้โดยใช้ trendlines และ moving averages
การเข้าเทรดที่ แนวรับ-แนวต้าน จะส่งผลต่อการเทรด หากเทรดเดอร์สามารถเข้าเทรดได้ถูกจุดมันจะกลายเป็นต้นทุนที่ดีที่สุดในช่วงเวลานั้น นอกจากนี้ยังสามารถควบคุมความเสี่ยงได้อีกด้วย
– แนวรับและแนวต้านเป็นเสาหลักที่ทรงพลังในการซื้อขาย ซึ่งอาจจะใช้เป็นกลยุทธ์แนวรับและแนวต้านจริงๆ กล่าวคือคาดการณ์ว่าราคาจะมาถึงจุดกรอบราคาที่ตั้งไว้และไม่ทะลุผ่านไป (range bound strategy) หรือใช้เป็นกลยุทธ์ทะลุแนวรับแนวต้าน กล่าวคือคาดการณ์ว่าราคาจะทะลุแนวรับหรือแนวต้านออกไป (Breakout and pullback strategies)
– ควรตั้งแนวรับและแนวต้านให้ชัดเจน เทรดเดอร์จำเป็นต้องปรับใช้การจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสมเพื่อจำกัดการขาดทุนหากมีการขาดทุนเกิดขึ้น
– แนวรับ-แนวต้าน มีความสำคัญต่อการเคลื่อนไหวของราคา เพราะเป็นระดับที่มีการแลกเปลี่ยนสถานะการซื้อขายในปริมาณค่อนข้างสูง เป็นตัวสะท้อนระดับ Demand & Supply ได้อย่างดี
– สามารถใช้หาจุดในการเปิดราคาที่ดีทั้งได้ Long และ Short ทำให้เทรดเดอร์เห็นว่าควรเข้าเทรดตอนไหนและโซนไหนมีโอกาสที่ราคาจะปรับตัวขึ้นหรือลง
– เห็นถึงรูปแบบการเคลื่อนที่ของราคาว่าไปในทิศทางไหน มองเห็นกรอบราคาของการวิ่งไปได้อย่างชัดเจนจากการลากทั้งเส้นแนวรับและเส้นแนวต้านควบคู่กันไปพร้อมๆ กัน
– สามารถใช้ประกอบคู่กับวิธีการเทรดรูปแบบอื่นเพื่อหาจังหวะในการเข้าเทรด
แนวรับคือระดับราคาที่เทรดเดอร์คาดว่าจะไม่ลดลงไปกว่านี้ เป็นแนวของราคาที่เมื่อมีแรงขายวิ่งมาถึงจุดหนึ่งแล้วจะเกิดแรงซื้อเข้ามารับราคาไว้ไม่ให้าราคาต่ำลงไปอีก
ตามทฤษฎีแล้ว แนวรับคือระดับราคาที่อุปสงค์ (กำลังซื้อ) แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันไม่ให้ราคาลดลง เมื่อราคาเข้าใกล้แนวรับมากขึ้นเรื่อย ๆ และมีราคาถูกลง ผู้ซื้อเห็นว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่จะซื้อมากขึ้น ผู้ขายมีโอกาสขายน้อยลงเนื่องจากราคาแย่ลง ในสถานการณ์นั้น อุปสงค์ (ผู้ซื้อ) จะเอาชนะอุปทาน (ผู้ขาย) และนั่นจะห้ามราคาไม่ให้ต่ำกว่าแนวรับ
วิธีตีเส้นแนวรับ จะตีเป็นเส้นแนวนอนใต้แท่งราคา หากราคาลงมาถึงแนวรับที่ตีไว้แล้วไม่สามารถรับได้ ราคาก็จะทะลุลงต่อ แต่ถ้ารับได้ราคาก็จะเด้งกลับขึ้นไป
โซนแนวรับจะใช้สำหรับการเทรดในกรอบเวลา (timeframe) ในระยะยาว เมื่อราคาไม่สามารถเด้งกลับจากจุดแนวรับหนึ่งๆ ได้ เทรดเดอร์อาจจะใช้จุดแนวรับที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งก่อนหน้าเป็นแนวรับต่อไป ทำให้จุดแนวรับหลายจุดจนกลายเป็น “โซนแนวรับ”
แนวต้านคือระดับราคาที่เทรดเดอร์คาดว่าจะไม่เพิ่มขึ้น เป็นแนวของราคาที่เมื่อมีแรงซื้อวิ่งมาถึงจุดหนึ่งแล้วจะเกิดแรงขายเข้ามาต้านราคาไว้ไม่ให้ขึ้นไปกว่านี้
แนวต้านเป็นระดับราคาที่อุปทาน (ขาย) แข็งแกร่งพอที่จะป้องกันไม่ให้ราคาเพิ่มขึ้นอีก เหตุผลคือเมื่อราคาเข้าใกล้แนวต้านมากขึ้นเรื่อย ๆ จะมีราคาที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ ผู้ขายก็มีแนวโน้มที่จะขายมากขึ้นและผู้ซื้อก็มีแนวโน้มจะซื้อน้อยลง
วิธีตีแนวต้าน จะตีเป็นเส้นแนวนอนอยู่เหนือแท่งราคา หากราคาขึ้นมาถึงแนวต้านที่ตีไว้แล้วไม่สามารถผ่านไปได้ราคาก็จะกลับลงมา แต่ถ้าไปต่อได้ราคาก็จะขึ้นไปต่อ
ตรงกันข้ามกับโซนแนวรับ สามารถดูการกระจุกตัวของจุดแนวต้านหลายๆ จุดในบริเวณหนึ่งๆ รวมถึงการย้ายตำแหน่งการกลับตัวที่จะก่อให้เกิดโซนแนวต้านในที่สุด
แนวรับสามารถกลายเป็นแนวต้านได้ ! บ่อยครั้ง พื้นที่แนวรับแปรเปลี่ยนเป็นแนวต้านได้หากความเชื่อมั่นเปลี่ยนเป็นบวก เช่นเดียวกันแนวต้านเดิมก็สามารถกลายเป็นแนวรับใหม่ได้
นอกจากนี้ เมื่อราคามาถึงแนวรับหรือแนวต้าน ราคาสามารถเด้งออกจากเส้นหรือทะลุผ่านได้ เมื่อราคาทะลุผ่าน บทบาทของเส้นทั้งสองจะกลับตัว ถ้าราคาเป็นแนวรับ ตอนนี้จะกลายเป็นแนวต้าน และถ้าเป็นแนวต้าน ตอนนี้จะกลายเป็นแนวรับ
เทรดเดอร์สามารถวางแผนกลยุทธ์หลังจากการกลับตัวของราคา พฤติกรรมนี้มีประโยชน์เป็นอย่างมาก เมื่อดูแนวโน้มก่อนหน้านี้ คุณจะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
– ดูจากระดับ High และ Low โดยแนวรับคือบริเวณช่วง Low ของรอบการแกว่งตัวของราคา แนวต้านคือบริเวณช่วง High ของรอบการแกว่งตัวของราคา
– ดูที่กรอบการแกว่งตัว (Trading Range) เป็นช่วงที่ราคาแกว่งตัวในกรอบคู่ขนาน กรอบบน สามารถบ่งชี้ถึงแนวต้าน ส่วนกรอบล่างบ่งชี้ถึงแนวรับ ถ้าราคาทะลุกรอบบน (แนวต้าน) หมายถึงแรงซื้อชนะ ถ้าราคาทะลุกรอบล่าง (แนวรับ) หมายถึงแรงขายชนะ
– ใช้โซนราคา เป็นตัวอ้างอิงแนวรับแนวต้าน โดยใช้บริเวณราคาที่มีการเด้งกลับหรือย่อตัวลงของราคาเมื่อมีการเคลื่อนที่ไปที่บริเวณนั้นๆ
– เลือกใช้กรอบเวลาที่เหมาะสมกับระบบเทรดนั้น ๆ เป็นสิ่งสำคัญในการหาแนวรับแนวต้านเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปแนวรับแนวต้านในกรอบเวลาที่ใหญ่กว่าจะมีนัยสำคัญที่มากกว่า
เป็นการซื้อขายที่เกิดขึ้นในช่วงระหว่างแนวรับและแนวต้าน ราคามีการเคลื่อนไหวในกรอบซึ่งอาจเป็นได้ทั้งกรอบแนวรับแนวต้านทั่วไป และกรอบที่มีลักษณะเป็นรูปแบบอื่น ๆ เช่น รูปแบบสามเหลี่ยม (Triangle) หรือแบบธง (Flag)
เทรดเดอร์ที่ใช้กลยุทธ์นี้ ส่วนมากจะมีการซื้อที่แนวรับ-ขายที่แนวต้าน ที่ต้องระวังคือ ระดับแนวรับและแนวต้านไม่ใช่เส้นที่สมบูรณ์แบบเสมอไป บางครั้งราคาจะเด้งออกจากพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง แทนที่จะเป็นเส้นตรงที่สมบูรณ์แบบ เทรดเดอร์จำเป็นต้องระบุช่วงการซื้อขาย
เป็นรูปแบบที่มาจากการแกว่งตัวของราคาในกรอบ และการเปลี่ยนแนวโน้มอย่างรุนแรงจนทะลุผ่านแนวรับหรือแนวต้าน การเบรคเอาท์ของราคาขาขึ้นทำได้ด้วยการซื้อ เมื่อราคาทะลุผ่านแนวต้าน หรือซื้อเมื่อราคาตกกลับมาทดสอบแนวรับใหม่แล้วไม่หลุดกลับลงไป
ส่วนเบรคเอาท์ของราคาขาลง จะเกิดขึ้นหลังมีการทดสอบแนวรับหลายครั้งจนถูกมองว่าเป็นแนวรับที่แข็งแกร่ง เทรดเดอร์สามารถใช้กลยุทธ์นี้ทำการ ขาย เมื่อราคาหลุดแนวรับ หรือ ขาย เมื่อราคารีบาวน์กลับมาทดสอบแนวต้านใหม่
เป็นการใช้เส้นแนวโน้มเป็นแนวรับหรือแนวต้าน เพียงแค่ลากเส้นเชื่อมระหว่างจุดสูงสุดสองจุดขึ้นไปในเทรนด์ขาลง หรือจุดต่ำสุดสองจุดขึ้นไปในเทรนด์ขาขึ้น ในแนวโน้มที่แข็งแกร่ง ราคาจะเด้งออกจากเส้นแนวโน้มและเคลื่อนตัวต่อไปยังทิศทางของแนวโน้ม ดังนั้น เทรดเดอร์ควรมองหาทิศทางการเทรดทั้งหมดของเส้นแนวโน้ม เพื่อความเป็นไปได้ในการเทรดมากที่สุด
เทรดเดอร์หลายๆ ท่านใช้ moving averages เป็นแนวรับและแนวต้าน เพื่อช่วยในการทำนายโมเมนตัมระยะสั้นในอนาคต เส้นค่าเฉลี่ย (Moving Average) เกิดจากการนำราคาปิดย้อนหลังมาหาค่าเฉลี่ยตามช่วงเวลาที่เลือก เช่น เส้นค่าเฉลี่ย 5 ของกราฟรายวัน จะหมายถึงค่าเฉลี่ยของราคาย้อนหลัง 5 วัน ซึ่งเทรดเดอร์สามารถมองคร่าว ๆ ได้ว่าเป็นรูปแบบการซื้อขายในช่วง 5 วันที่ผ่านมาเป็นอย่างไร
เทรดเดอร์สามารถใช้เส้นค่า moving averages ได้หลายวิธี เช่น เพื่อคาดการณ์การเคลื่อนที่ไปด้านบนเมื่อเส้นราคาข้ามเหนือเส้น moving averages หลัก หรือเพื่อออกจากการซื้อขายเมื่อราคาลดลงต่ำกว่าเส้น moving averages เทรดเดอร์ส่วนใหญ่จะทดลองกับช่วงเวลาต่างๆ ใน moving averages เพื่อให้สามารถหาช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกรอบเวลาการซื้อขายของตน
แนวรับบางครั้งจะกลายเป็นแนวต้านเมื่อราคาพยายามกลับขึ้นไป และในทางกลับกัน ระดับแนวต้านจะกลายเป็นแนวรับเมื่อราคาถอยกลับชั่วคราว
การวิเคราะห์โดยแนวรับ และ แนวต้าน ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญและจำเป็นอย่างมากในการวิเคราะห์กราฟ เป็นการหาจังหวะในการเข้าเทรดไปพร้อมกับการควบคุมความเสี่ยง ช่วยให้เทรดเดอร์มีโอกาสที่จะลงทุนอย่างแม่นยำมากขึ้น อย่างไรก็ตามเทรดเดอร์ยังต้องอาศัยความรู้และการฝึกฝนเพื่อให้เกิดความชำนาญมากยิ่งขึ้น ก่อนจะลงทุนกับสินทรัพย์ใดๆ
*การซื้อขายและลงทุนใน Forex และ CFD มีความเสี่ยงสูง อาจทำให้สูญเสียมากกว่าเงินทุนทั้งหมด
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 24 ธันวาคม 2024 (วันอังคาร) 25 ธันวาคม 2024 (วันพุธ) 26 ธันวาคม 2024…
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายของผลิตภัณฑ์ต่อไปนี้ตามวันหยุดประจำเดือนธันวาคม โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง วันที่ 16 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) 23 ธันวาคม 2024 (วันจันทร์) วันหยุด วันแห่งการปรองดอง คริสต์มาสอีฟ…
Dear Valued Clients, The global gold market has experienced significant volatility recently, with market liquidity…
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ ขอเรียนให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ซื้อขาย CFD ต่อไปนี้จะโรลโอเวอร์อัตโนมัติตามวันที่ระบุไว้ในตารางด้านล่างนี้ เนื่องจากอาจมีความแตกต่างของราคาระหว่างสัญญาเก่าและใหม่ จึงขอแนะนำให้ลูกค้าตรวจสอบและจัดการโพสิชันของคุณตามความเหมาะสม วันหมดอายุ: สัญลักษณ์ คำอธิบาย วันที่ JPN225ft Japan 225 Index Future…
ในการลงทุนที่ประสบความสำเร็จ นักลงทุนควรใช้ตัวชี้วัดการเทรดที่มีประสิทธิภาพเพื่อประเมินผลการลงทุนของตนเอง ตัวชี้วัดเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยในการตัดสินใจในการซื้อขาย แต่ยังช่วยให้คุณวัดประสิทธิภาพและปรับปรุงกลยุทธ์การลงทุนของคุณได้อย่างต่อเนื่อง นี่คือตัวชี้วัดสำคัญที่นักลงทุนทุกคนควรรู้ 1. อัตราการชนะ (Win Rate) คือสัดส่วนของจำนวนการเทรดที่ประสบความสำเร็จเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนการเทรดทั้งหมดที่ดำเนินการ โดยเป็นตัวชี้วัดที่ช่วยในการประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์การลงทุนหรือการเทรด อัตราการชนะบ่งบอกถึงความสามารถในการทำกำไรจากการเทรด และเป็นข้อมูลสำคัญที่ช่วยให้คุณทราบว่าแนวทางการเทรดของคุณมีประสิทธิภาพเพียงใด วิธีการคำนวณ: ตัวอย่าง:…
เรียนลูกค้าผู้มีอุปการคุณ โปรดตรวจสอบตารางการเปลี่ยนแปลงชั่วโมงซื้อขายประจำเดือนพฤศจิกายนด้านล่างนี้ โปรดดูตารางด้านล่างสำหรับตราสารอนุพันธ์ที่จะมีการเปลี่ยนแปลง: วันที่ 27 พฤศจิกายน 2024(วันพุธ) 28 พฤศจิกายน 2024(วันพฤหัส) 29 พฤศจิกายน 2024(วันศุกร์) 30 พฤศจิกายน…